การขยายช่องทางเพื่อเพิ่มจำนวนยอดขายเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเมื่อต้องเผชิญกับปัจจัยสำคัญอย่างการแข่งขันที่รุนแรงและการหดตัวของยอดขายเช่นในปัจจุบัน โดยผู้ประกอบการอาจเลือกใช้ช่องทางที่ต่างกันตามทรัพยากรและโครงสร้างต้นทุนของร้าน เช่น การใช้ Food Delivery Application เพื่อขยายช่องทางเข้าถึงลูกค้าและเพิ่มยอดขาย แต่อย่างไรก็ดี จำเป็นต้องพิจารณาถึงต้นทุนและผลกำไรของตนประกอบด้วย เนื่องจากค่าธรรมเนียมของบริการดังกล่าวอาจสูงถึง 30% ของยอดขายที่สามารถขายได้ผ่านช่องทางดังกล่าว
2. สร้างความแตกต่างผ่านการเพิ่มคุณค่าของสินค้า/บริการพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ปรับเปลี่ยนไปตลอดเวลาและมีแนวโน้มที่จะเข้ามาใช้บริการร้านเดิมๆน้อยลง ประกอบกับตัวเลือกที่หลากหลายมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องสร้างความแตกต่างและเพิ่มความใส่ใจต่อสินค้าและบริการของตน เช่น การนำวัตถุดิบท้องถิ่นที่มีเฉพาะพื้นที่นั้นๆมาทำเป็นอาหาร หรือการนำวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้เป็นภาชนะ เป็นต้น โดยถึงแม้จะเป็นต้นทุนที่สูงขึ้น แต่หากสามารถเพิ่มหรือรักษาฐานลูกค้าประจำไว้ได้ ก็อาจเป็นการลงทุนที่สร้างความคุ้มค่าในระยะยาว
3. ปรับกระบวนการทางธุรกิจให้มีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การเข้ามามีบทบาทมากขึ้นของเทคโนโลยี อาจทำให้ Value Chain ในธุรกิจร้านอาหารขยายวงไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องพิจารณาและศึกษากระบวนการทางธุรกิจให้ครอบคลุมเพื่อคำนวนต้นทุนของธุรกิจให้สอดคล้องและสมดุลกับการรักษาระดับความพอใจของผู้บริโภคควบคู่ไปด้วย เช่น การปรับหน้าที่ของพนักงานบางตำแหน่งในช่วงระยะเวลาเร่งด่วน ซึ่งอาจเกิดกระบวนการคอขวดหรือความผิดพลาดขึ้นมาได้ หรือการปรับรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้สามารถเก็บรักษารสชาติและองค์ประกอบของอาหารได้นานกว่าเดิม เป็นต้น
ที่มา : www.brandbuffet.in.th
สนใจสินค้าและบริการ
ร้องเรียนการให้บริการ
02-402-6117, 081-359-6920
sale@prosoft.co.th
02-096-4900 กด 2 (AUTO)
02-402-8107
support@prosoftwinspeed.com
02-096-4900 กด 3 (AUTO)
02-402-8138
support@prosofthrmi.com