ทนายสำหรับบริษัท ความสำคัญและกฎหมายสำคัญที่เจ้าขององค์กรมองข้ามไม่ได้

ทนายสำหรับบริษัท ความสำคัญและกฎหมายสำคัญที่เจ้าขององค์กรมองข้ามไม่ได้



ในการเปิดบริษัท ไม่ว่าจะเป็น
บริษัทเล็กหรือบริษัทใหญ่มีความจำเป็นที่ต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมาย และข้อบังคับต่างๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งบริษัทก็มักจะมองข้ามการมีทนาย หรือนักกฎหมายประจำบริษัท เพราะอาจคิดว่าสามารถจ้างทนายภายนอก หรือใช้บริการที่ปรึกษาทางด้านกฎหมายแทนได้

อย่างไรก็ดีอาชีพทนายความ หรือนักกฎหมายประจำยังจำเป็นอาชีพที่มีความสำคัญต่อบริษัทพอสมควร เพื่อดูแลกิจการให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด รวมถึงป้องกันปัญหาการถูกฟ้องร้อง และควบคุมกรณีที่ต้องฟ้องร้องคู่กรณีเช่นกัน สำหรับการหาทนายประจำบริษัทก็ต้องดูความเกี่ยวข้องระหว่างข้อกฎหมาย และลักษณะกิจการของบริษัทด้วย โดยสามารถแบ่งทนายเป็น 2 ประเภทตามความเชี่ยวชาญในลักษณะทางกฎหมาย คือ ทนายที่เชี่ยวชาญกฎหมายแพ่ง และทนายที่เชี่ยวชาญกฎหมายอาญา แต่นอกเหนือจากลักษณะทางกฎหมายดังกล่าวยังมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจเพิ่มเติมอีกด้วย ได้แก่

1.  กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับองค์กร
เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการประเภทห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัดภายใต้กฎหมายหลัก เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) และพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 ซึ่งกล่าวถึงการกกำหนดหลักเกณฑ์ในการดำเนินกิจการของผู้ประกอบการในเรื่องขอบเขตของวัตถุประสงค์ในการดำเนินธุรกิจขององค์กร, หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กร, หลักเกณฑ์เกี่ยวกับหุ้นส่วน หุ้น และผู้ถือหุ้น, หลักเกณฑ์เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลต่างๆที่เกี่ยวข้อง, การประชุมผู้ถือหุ้นหรือการประชุมคณะกรรมการของบริษัท, หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลต่อหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบหรือประชาชน สำหรับกรณีที่เป็นบริษัทมหาชนจำกัดในตลาดหลักทรัพย์จำเป็นต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพิ่มเติมอีกด้วย

2. กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ และนิติกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำสัญญา การซื้อขาย การเช่าซื้อ การให้กู้ยืมเงิน การค้ำประกัน การจ้างแรงงาน การจ้างทำของ เป็นต้น

3. กฎหมายด้านการตลาดและการโฆษณา
เป็นกฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้เกิดความเรียบร้อยในการทำกิจกรรมด้านการตลาดและการโฆษณาให้มีความยุติธรรม และมีการคุ้มครองผลประโยชน์ของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้ประกอบการ คู่แข่ง และผู้บริโภค โดยข้อกฎหมายหลักจะเกี่ยวข้องกับกฎหมายการแข่งขันทางการค้า กฎหมายว่าด้วยการกำหนดราคาสินค้าและบริการ กฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการขายและการตลาด กฎหมายโฆษณา กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม เป็นต้น

4. กฎหมายแรงงาน
เป็นกฎหมายที่มีความละเอียดอ่อนเพราะเกี่ยวเนื่องกับการใช้แรงงานคน จึงต้องระมัดระวังการจ้างงานไม่ให้เกิดการเอาเปรียบผู้ใช้แรงงาน กฎหมายนี้จะเป็นหลักในการกำหนดสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดระหว่างผู้จ้างงานและลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน โดยมีข้อกำหนดดังนี้ ลักษณะของการจ้างแรงงาน ค่าแรง ค่าล่วงเวลา จำนวนจำกัดของวันและเวลาในการทำงาน วันลา วันหยุด การทดลองงาน การเลิกจ้าง การจ่ายค่าชดเชย กรณีที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ข้อบังคับการทำงาน กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายเงินทดแทน กฎหมายประกันสังคม กฎหมายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กฎหมายการจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีในศาลแรงงาน

5. กฎหมายภาษีอากร
สำหรับการทำธุรกิจจะต้องมีการทำรายงานภาษีตามประมวลรัษฎากรซึ่งเป็นภาษีในความรับผิดชอบของกรมสรรพากร ได้แก่ ภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีธุรกิจเฉพาะ นอกจากนี้ยังอาจมีความเกี่ยวข้องกับภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ และภาษีป้าย เป็นต้น

6. กฎหมายลิขสิทธิ์
เป็นข้อกฎหมายที่คนส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจอยู่มากซึ่งอาจส่งผลให้เกิดคดีฟ้องร้องได้ง่าย ซึ่งกฎหมายลิขสิทธิ์จะให้ความคุ้มครองกับงานสร้างสรรค์ในทันทีนับตั้งแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ผลงานโดยไม่จำเป็นต้องมีการจดทะเบียน  ประเภทงานสร้างสรรค์ที่ได้รับความคุ้มครองได้แก่ งานวรรณกรรม งานดนตรีกรรม งานนาฏกรรม งานศิลปกรรม ภาพถ่าย ภาพยนตร์ งานนำเสนอด้านวิชาการหรือเทคนิค  รวมไปถึงกฎหมาย และคำชี้แจงทั่วไปของราชการ ดังนั้นในการผลิตสินค้า หรือแม้กระทั่งการโฆษณา และการทำการตลาดก็สามารถละเมิดลิขสิทธิ์ได้โดยง่ายจึงจำเป็นต้องมีนักกฎหมายให้ความรู้และคำปรึกษา เพื่อป้องกันการฟ้องร้องที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

เห็นได้ชัดเจนว่าในการดำเนินธุรกิจของแต่ละบริษัทมีความจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมายไม่ข้อใดก็ข้อหนึ่ง ดังนั้นการมีทนายหรือนักกฎหมายประจำบริษัทจึงเป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้ ทั้งนี้จะเลือกจ้างทนายแบบอิสระหรือทนายแบบประจำก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของธุรกิจว่ามีความเกี่ยวข้องกับกฎหมายในระดับใด หากต้องเกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายตลอดเวลาก็ควรมีทนายประจำบริษัทเพื่อเพิ่มความสามารถในการดำเนินธุรกิจให้ราบลื่นไปได้ด้วยดี

Cr.th.jobsdb.com

 2961
ผู้เข้าชม
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์