ตั้งชื่อ Brand อย่างไรให้เกิดการจดจำ

ตั้งชื่อ Brand อย่างไรให้เกิดการจดจำ




ผู้ประกอบการรายใหม่มักจะเกิดคำถามในใจว่า จะตั้งชื่อแบรนด์สินค้าอย่างไรให้ปัง ให้โดน ให้ลูกค้าจดจำได้เรื่องการคิดตั้งชื่อแบรนด์ จึงถือเป็นเรื่องยากอีกหนึ่งอย่างของการเริ่มต้นกิจการ เพราะชื่อที่สะดุดหู ย่อมมีโอกาสทำให้ผู้บริโภคจดจำสินค้าของเราได้ง่ายขึ้น มีเทคนิคการตั้งชื่อแบรนด์ให้เกิดการจดจำมานำเสนอ ดังนี้
 
1.ความหมายดี
ชื่อแบรนด์ก็เหมือนชื่อคน จะต้องตั้งชื่อที่มีความหมายดีๆเข้าไว้ เพราะชื่อดีมีชัยไปแล้วครึ่งหนึ่ง ชื่อแบรนด์ที่ดี เป็นสิริมงคล ย่อมเสริมสร้างกำลังใจให้แก่เจ้าของ และช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่สินค้าหรือบริการของเรา รวมถึงช่วยสร้างภาพลักษณ์ให้แก่องค์กรของเราด้วย เช่น แบรนด์ที่มีคำว่า กรีน (Green) ร่วมอยู่ในชื่อแบรนด์ จะให้ความรู้สึกว่า เป็นแบรนด์หรือองค์กรที่รักธรรมชาติ รักสิ่งแวดล้อม หรือปลอดภัยในการใช้งาน หรือบรรดาสินค้ากลุ่มเครื่องสำอาง ครีมบำรุงผิว มักจะมีคำว่า ไวท์ (White) อยู่ด้วย เพื่อสื่อความหมายว่า ใช้แล้วขาว ตามกระแสความนิยมของคนรุ่นใหม่ที่นิยมผิวขาวใส
 
2.ชื่อไม่ยาวและหลีกเลี่ยงชื่อย่อ
ชื่อที่ยาวเกินไปจะทำให้จดจำยาก หรือจำได้ไม่ครบ ชื่อที่เหมาะสมไม่ควรยาวเกิน 4 พยางค์ เพราะคนเรามีข้อจำกัดในการจดจำ จะเห็นได้ว่า หมายเลขโทรศัพท์ที่มีจำนวน 10 ตัวเลข เราจะแบ่งเลขออกเป็นกลุ่มๆ ละไม่เกิน 4 ตัวเลข โดยแบ่งเป็น 000-000-0000 เพื่อให้จำได้ง่าย กิจการขนาดเล็กไม่ควรใช้ชื่อย่อมาตั้งเป็นชื่อแบรนด์ เพราะจะไม่สื่อความหมายใดๆกับผู้บริโภค เช่น ตั้งชื่อแบรนด์ “บีเอวาย : BAY” มีที่มาจากชื่อของหุ้นส่วนสามคนคือ บอย เอ๋ และยุ้ย ซึ่งถ้าเห็นแต่แบรนด์ไม่เห็นสินค้าก็ไม่รู้ว่าคืออะไร เพราะชื่อแบรนด์นี้ไม่ได้สื่อความหมายใดๆ และโดยทั่วไปองค์กรขนาดใหญ่มักจะตั้งชื่อย่อ โดยเฉพาะองค์กรที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ จะใช้ชื่อย่อในการประชาสัมพันธ์ และในการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดทุกกิจกรรมขององค์กร จนผู้บริโภคจำได้แล้ว ซึ่งถ้าเราใช้ชื่อย่อแบรนด์ “BAY” นี้ อาจจะทำให้ลูกค้าสับสนกับองค์กรอื่น เพราะลูกค้าจะนึกว่า เป็นธนาคารกรุงศรีอยุธยาที่ใช้ชื่อย่อในตลาดหลักทรัพย์ว่า BAY เหมือนกัน
 
3.ชื่อเก๋ good เท่ โดดเด่น
ตั้งชื่อแบรนด์ด้วยภาษาต่างประเทศที่ออกเสียงได้เก๋ๆ หรือใช้ชื่อที่มาจากภาษาพื้นเมือง เช่น ตั้งชื่อแบรนด์เครื่องประดับว่า “เลอค่า : Lequa” ซึ่งเลอค่าในภาษาไทยหมายความว่า มีค่ามาก ล้ำค่า แต่ในขณะเดียวกันก็ดูหรูหรา ให้ความรู้สึกเป็นสากล เพราะออกเสียงคล้ายสำเนียงในภาษาฝรั่งเศส หรือ ร้านขายกาแฟตั้งชื่อว่า “กาแฟ เด้อ: Kafe De” ซึ่งคำว่า เด้อ เป็นภาษาถิ่น แต่จะไปพ้องเสียงกับภาษาฝรั่งเศส ทำให้ดูเป็นร้านกาแฟไฮโซขึ้น บางคนพยายามตั้งชื่อให้เก๋ เท่ แนวกวน เช่น เป็นร้านเฟอร์นิเจอร์บิวอินและตกแต่งภายใน ตั้งชื่อร้านว่า “ตามใจช่าง” แม้ชื่อจะดูเท่ กวนๆ แต่ลูกค้าคงไม่อยากใช้บริการ เพราะบ้านของลูกค้า ช่างควรตามใจลูกค้า ซึ่งเป็นผู้อยู่อาศัยเป็นผู้จ่ายเงินให้ช่าง หรือ เป็นร้านรับตัดหญ้า รับตัดต้นไม้ จัดสวน ตั้งชื่อร้านว่า “ตั้งใจฟัน” เจ้าของกิจการอาจจะต้องการบอกว่า ในการตัดฟันต้นไม้แต่ละกิ่ง เขาตั้งใจฟันอย่างมีหลักการในการดูแลต้นไม้ แต่ลูกค้าแค่ได้ยินชื่อก็คิดว่า ถ้าเรียกใช้คงโดนฟันเงินค่าบริการจนกระเป๋าสตางค์ฉีกแน่นๆ
 
4.ออกเสียงง่าย สะกดไม่ยาก
ชื่อต้องอ่านออกเสียงได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นชื่อไทยหรือชื่อภาษาต่างประเทศ ต้องเห็นแล้วสะกด ออกเสียงได้เลย ใครๆก็อ่านออกเสียงได้เหมือนกัน เพื่อให้จดจำได้ง่าย การตั้งชื่อแบรนด์ที่ยากเกินไป อาจทำให้ลูกค้าไม่กล้าที่จะออกเสียง เพราะกลัวพูดผิด ผลที่ตามมาก็คือ ลูกค้าจะไม่บอกต่อ ไม่พูดถึงแบรนด์ของเรา เพราะกลัวอายถ้าเรียกชื่อผิด โดยเฉพาะชื่อแบรนด์ที่เขียนเป็นภาษาต่างประเทศ โดยไม่มีภาษาไทยกำกับ ธรรมชาติของคนไทยเราจะขี้อาย กลัวผิด กลัวคนหาว่าโง่ แค่นี้ทำไมอ่านไม่ออก เช่น ชื่อแบรนด์ “ รชต ”คนจะงงว่าอ่านออกเสียงอย่างไร จะอ่านว่า “ ระ-ชะ-ตะ ” หรือ “ ระ-ชด” หรือเป็นตัวย่อว่า “ รอ-ชอ-ตอ ”
 
5.ชื่อไม่ใกล้เคียงใคร
ไม่ควรตั้งชื่อแบรนด์ให้ซ้ำหรือใกล้เคียง หรือออกเสียงคล้ายกับใคร เพราะจะทำให้ลูกค้าสับสน และในกรณีแบรนด์ที่ชื่อใกล้เคียงกับเรามีข้อบกพร่อง หรือมีปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพสินค้าหรือการให้บริการ ลูกค้าอาจจะจำผิดคิดว่าเป็นแบรนด์ของเรา นอกจากนี้ การที่ชื่อหรือรูปแบบแบรนด์ไปใกล้เคียงกับคนอื่น อาจจะก่อให้เกิดปัญหาทางกฎหมายได้ เพราะเจ้าของแบรนด์ที่เราไปคล้ายเขา อาจจะฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ได้
 
6.โดดเด่น สะดุดตาตรงกับตำแหน่งสินค้าของเรา
ต้องออกแบบตัวอักษรหรือสีให้สอดคล้องกับตำแหน่งสินค้าที่เรากำหนดไว้ เช่น เป็นสินค้าเพื่อสุขภาพสำหรับลูกค้าพรีเมี่ยม เราควรออกแบบรูปแบบของตัวอักษร หรือสีสันให้ดูหรูหรา ดูแพง สอดคล้องกับตำแหน่งสินค้า
 
7.ชื่อไม่เฉพาะเจาะจง
ไม่ควรตั้งชื่อแบรนด์ที่เฉพาะเจาะจงเกินไป เพราะจะทำให้หากในอนาคตกิจการขยายไลน์สินค้าเพิ่มเติม อาจจะไม่สอดคล้องกับชื่อแบรนด์ เช่น ในช่วงแรกขายแต่ทุเรียนฟรีซดรายอย่างเดียว เลยใช้ชื่อแบรนด์ว่า “ทุเรียนดี : Durian Dee” พออยากจะขยายไปขายผลไม้ฟรีซดรายอื่นๆ เช่น ลำไย มะม่วง มังคุด ลิ้นจี่ หรือสตอเบอรี ก็ต้องไปตั้งชื่อใหม่ เพราะชื่อเดิมระบุไปแล้วว่าเป็นทุเรียน ซึ่งเป็นชื่อเฉพาะเจาะจง ถ้าหากในตอนแรกตั้งชื่อแบรนด์ว่า “ ฟรุตตี้ดี : Fruitee Dee” ไม่ว่าจะขายผลไม้อะไรก็สามารถใช้แบรนด์เดียวกันได้
 
8.ชื่อใช้ง่ายต่อการสร้างโลโก้
ชื่อที่ตั้งควรนำมาออกแบบเป็นโลโก้ได้ง่าย เพื่อออกแบบโลโก้ของแบรนด์ให้สวยงามสะดุดตา จดจำได้ง่าย และใช้โลโก้นี้เป็นตัวแทนกิจการในการพิมพ์บนฉลากสินค้า บนบรรจุภัณฑ์ หรือแม้แต่พิมพ์บนนามบัตร ดังนั้น ชื่อแบรนด์จึงไม่ควรยาวเกินไป เพราะจะนำไปออกแบบเป็นโลโก้ได้ยาก

Cr.www.tasme.or.th
 2069
ผู้เข้าชม
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์