แผนการตลาดแบบ 5A คืออะไร
แผนการตลาดแบบ 5A ริเริ่มมาจาก Phillip Kotler ซึ่งเป็นนักการตลาดชื่อดังคนหนึ่งในยุคของเรา ได้แนะนำไว้ในหนังสือ Marketing 4.0 เป็นกระบวนการทำการตลาดด้วยการวางแผนการตลาดที่จะทำให้ลูกค้าที่เป็นเพียงคนแปลกหน้า กลายเป็นคนที่พร้อมจะแนะนำให้คนอื่นใช้สินค้าของเรา โดยไม่ต้องเสียค่าโฆษณาเพิ่ม ซึ่งแผนการตลาดแบบ 5A 5 ขั้นตอนนั้น ผู้ประกอบการ SME ก็ทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเองค่ะ
แผนการตลาด 5A มีอะไรบ้าง
แผนการตลาดแบบ 5A จะคล้ายกับการตลาดแบบ AIDA = (A)warness, (I)nterest, (D)esire, (Action) ตรงที่มีการเพิ่มกระบวนการบอกต่อเข้ามา ซึ่งเชื่อกันว่า คำแนะนำจากผู้ใช้งานจริง ยังคงทรงอิทธิพลต่อลูกค้าหรือผู้บริโภคเสมอนั่นเองค่ะ องค์ประกอบของ 5A มีอะไรบ้าง ไปดูกันได้เลย
1.Aware (รับรู้ว่ามีสินค้านี้อยู่)
ขั้นตอนแรกคือการทำยังไงให้ลูกค้ารับรู้ความมีตัวตนของสินค้าเรา ในยุคปัจจุบันทำได้ไม่ยากเลยค่ะ เพราะคนส่วนใหญ่ใช้สมาร์ทโฟน และออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมงอยู่แล้ว ผู้ประกอบการสามารถใช้ช่องทางเช่นโซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ หรือการโฆษณาทางออนไลน์ให้ลูกค้ารู้ว่ามีสินค้านี้อยู่แล้ว ก็ได้เช่นกัน หลักการคือทำให้เห็นบ่อยๆ แล้วเขาจะจำได้ แต่ต้องระวังอย่าให้มากเกินไปจนกลายเป็นรำคาญค่ะ
2.Appeal (ดึงดูดใจ)
หลังจากทำให้ลูกค้าเห็นละจดจำแบรนด์หรือสินค้าของเราได้แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือทำอย่างไร ลูกค้าจึงจะอยากรู้จักสินค้าของเราให้มากขึ้น ในขั้นตอนนี้การพึ่งพาเว็บไวต์ เพื่อให้ข้อมูลสำคัญมากค่ะ การทำคอนเทนต์ดีๆ ที่ออกมาให้ข้อมูลสถานที่ วิธีการสั่งซื้อจึงสำคัญ
3.Ask (สอบถาม)
เมื่อลูกค้าซุ่มสังเกตดูสินค้าของเรามาระยะหนึ่งแล้ว เขาจะเริ่มต้องการข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ ซึ่งในกระบวนการนี้ การสอบถามจากคนใกล้ตัวที่มีประสบการณ์กับสินค้าชนิดนี้มาก่อน เป็นเรื่องสำคัญมาก หลายๆ แบรนด์จึงเลือกใช้ Influencer เพื่อช่วยเป็นผู้ตอบคำถามและกระตุ้นความต้องการของลูกค้า รวมถึงอาจมีการสอบถามเข้ามาที่ผู้ประกอบการเพื่อขอข้อมูล แต่ในขั้นตอนนี้ “ลูกค้าจะยังไม่ซื้อ” ทำให้ต้องวางแผนการตลาดในขั้นตอนต่อไปเพื่อให้เราประสบความสำเร็จในการขาย
4.Act (ซื้อ)
กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นได้เมื่อลูกค้ามีความสนใจ และได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าเพียงพอแล้ว จึงตัดสินใจจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้านั้นๆ การตลาดแบบเดิมจะสิ้นสุดลงตรงนี้ เพราะถือว่าสำเร็จตามเป้าหมายแล้ว แต่สำหรับการตลาดแบบ 5A การซื้อเพียงครั้งเดียวไม่เพียงพอ โดยเฉพาะสำหรับผู้ประกอบการ SME เพราะเราไม่ได้ผลิตสินค้าออกมาเพื่อขายเพียงแค่ครั้งเดียวนั่นเองค่ะ ดังนั้นเราจึงต้องดำเนินการในขั้นต่อไป
5.Advocate (การแนะนำหรือบอกต่อสินค้า)
เราจะพบมากขึ้นว่าลูกค้ามีความคาดหวังกับทั้งสินค้าและบริการหลังการขาย ถ้าซื้อแล้วใช้ดี มีบริการที่น่าประทับใจ ลูกค้าในยุคปัจจุบันจึงชอบที่จะบอกต่อ และการบอกต่อนี้เองที่สร้างความน่าเชื่อถือให้กับสินค้า รวมทั้งเพิ่มโอกาสในการซื้อซ้ำ ซึ่งการเพิ่มส่วนของการรีวิว ในโซเชียลมีเดียหรือเว็บไซต์ให้ลูกค้าเข้ามาเขียนก็เป็นการบอกต่อที่เราไม่ต้องเพิ่มต้นทุนให้มากมาย แต่ทั้งนี้ความจริงใจก็ยังสำคัญ ผู้ประกอบการจึงต้องมีบริการหลังการขายที่ดี สำหรับสินค้าบางประเภท
Cr.peerpower
ขอบคุณรูปภาพจาก sbdc.co.th