เริ่มตรวจสอบบัญชีอย่างเข้มงวด
นอกจากยอดขายที่ลดลงแล้วสิ่งที่สามารถทำให้ธุรกิจ SME เจ๊งแบบไม่รู้ตัวคือ “การขาดสภาพคล่อง” ในช่วงเศรษฐกิจขาลงสิ่ง แรกที่ผู้ประกอบการควรทำคือทบทวนโครงสร้างรายรับรายจ่ายทั้งหมดอย่างละเอียด สิ่งที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษคือรายจ่ายที่ดึงเงินสดออกไปคราวละมากๆและรายจ่ายประจำ(fixed cost) ของกิจการ ในช่วงที่เศรษฐกิจดีธุรกิจเติบโต ผู้ประกอบการโดยมาก มักเร่งขยายทีมงาน ขยายกำลังการผลิตหรือทำออฟฟิศสำนักงานใหม่ รายการเหล่านลี้ ล้วนก่อให้เกิดรายจ่ายพิเศษรวมทั้งก่อให้เกิด ความต้องการเงินสดหมุนเวียนในธุรกิจมากขึ้น ดังนั้นสิ่งแรกที่ต้องปฏิบัติเพื่อเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจซบเซาจึงเป็นการ ทบทวนสถานะความมั่นคงทางการเงินของกิจการ และตรวจสอบให้มั่นใจว่าธุรกิจของเรามีกระแสเงินสดเพียงพอที่จะฝ่าช่วงนี้ไปได้
ประหยัดในสิ่งที่ควร
หลังจากทบทวนโครงสร้างรายรับรายจ่ายใหม่ เราจะมีความเข้าใจด้านการเงินของธุรกิจเรามากขึ้นว่ามีราย จ่ายใดที่ไม่จำเป็นหรือ สามารถปรับลดได้ แต่อย่างไรก็ตามมีรายจ่ายบางรายการที่ได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ เช่นค่าใช้จ่ายในการขาย และการทำการตลาดนั้นไม่ควรถูกปรับลดลง เพราะช่วงเศรษฐกิจขาลงนั้นเป็นเวลาที่ธุรกิจต่างๆต้องหาลูกค้าเพิ่มมากขึ้น ผู้ประกอบการที่ไม่เข้าใจอาจมองว่าค่าใช้จ่ายในการขาย ติดต่อลูกค้า และงบการตลาดควรเป็นสิ่งแรกที่ถูกตัด ซึ่งในความเป็นจริงสิ่งที่ควรพิจารณาควรเป็นรายจ่ายประจำที่เกิดขึ้นเช่น การประหยัดน้ำ-ไฟฟ้า หรือการปรับสวัสดิการฟุ่มเฟือยบางประการลง ชั่วคราวเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจปรับลดค่าใช้จ่ายใดๆก็ตาม แต่สิ่งสำคัญคือการสื่อสารให้พนักงานในองค์กรเข้าใจถึงสถานการณ์และความจำเป็นเพื่อลดแรงต้านและสร้างความร่วมมือในการประหยัด
ปรับกลยุทธ์ทางการค้า Focus ธุรกิจหลักที่มีกําไรและเงินสด
การปรับกลยุทธ์ของส่วนผสมผลิตภัณฑ์หรือ Product Mix ก็เป็นสิ่งสําคัญ รูปแบบของธุรกิจ SME ส่วนมากประกอบด้วยการ จําหน่ายสินค้าและบริการหลายชนิด ซึ่งแต่ละตัวก็มีปริมาณการขาย อัตราการทํากําไร ค่าใช้จ่าย และต้นทุนที่เกี่ยวข้องแตกต่าง กันไปในช่วงที่ยอดขายลดลง ผู้ประกอบการควรต้องวิเคราะห์ยอดขายและความสามารถในการทํากําไรของสินค้าแต่ละตัวให้ดี โดยให้ความสําคัญกับการทําตลาดกลุ่มสินค้าหลักที่เป็นเรือธงของธุรกิจ (flagship) และกลุ่มสินค้าที่สามารถสร้างกระแสเงินสดเข้ามาได้มากเพื่อรักษาสภาพคล่องของกิจการ ส่วนกลุ่มสินค้าที่ต้องพึงระวังคือกลุ่มที่มีต้นทุนในการผลิตสูง มีการระบายสต็อกสินค้าต่ำ กลุ่มที่มีช่วงเครดิตชําระนานดึงกระแสเงินสดมาก และกลุ่มที่มีค่าใช้จ่ายสูงในการบริการหลังการขาย
Outsources แทนการจ้างประจํา
การลดขนาดองค์กร (downsizing) อาจเป็นสิ่งจําเป็นสําหรับความอยู่รอดของกิจการ แม้ว่าการปลดพนักงานออกจะช่วยลดต้นทุน พื้นฐานในด้านแรงงานได้ทันทีแต่ผลเสียก็มีมาก ในระยะสั้นปัญหาที่ยากหลีกเลี่ยงคือการมีงานตกค้างหรือคุณภาพการบริการลด ลงเนื่องจากขาดคนทํางาน ส่วนในระยะยาวมักเกิดความยุ่งยากในการเสริมทีมงานใหม่เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว การใช้บริการหน่วยงานภายนอกหรือ Outsourcing จึงเป็นทางเลือกที่ดีสําหรับธุรกิจที่จำเป็นต้องปรับลดพนักงาน อย่างไรก็ตาม Outsourcing ไม่สามารถทดแทนการจ้างงานประจําได้ทุกตําแหน่ง การใช้บริการหน่วยงานจากภายนอกสามารถตอบโจทย์การทํางานได้แค่เพียงในบางด้านเท่านั้น ในส่วนของการบริหารงาน Outsourcing ยังมีข้อคิดอีกหลายประการซึ่งเราขอนําเสนอในคราวต่อไป
สุดท้ายนี้ ผู้ประกอบการอาจมีความจําเป็นที่จะต้องขอความช่วยเหลือจากสถาบันทางการเงินเพื่อรักษาสภาพคล่อง แต่อย่างไร ก็ตามการพึ่งบัตรเครดิตหรือการขอสินเชื่อเพิ่มเป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น การปรับกลยุทธ์และทิศทางของธุรกิจเป็น สิ่งจําเป็นที่ต้องทําควบคู่กันกับการดูแลกระแสเงินสดหมุนเวียนเพื่อความอยู่รอด ในตอนนี้เราได้นําเสนอวิธีการรักษาสภาพคล่อง เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดได้ในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว ในตอนต่อไปเราจะพูดถึงวิธีการสร้างยอดขายและทํากําไรในช่วงเศรษฐกิจขาลง
บทความโดย : ธีระ กนกกาญจนรัตน์