Samsung บริษัทเทคโนโลยี ที่มี “คน” เป็นศูนย์กลาง

Samsung บริษัทเทคโนโลยี ที่มี “คน” เป็นศูนย์กลาง

 

       Samsung บริษัทเทคโนโลยี ที่มี “คน” เป็นศูนย์กลาง

 

 

 

       The business world has changed significantly. It is becoming increasingly difficult to foresee what sectors will prosper or opportunities will arise in the future. But if you hire the best and brightest, you will solve whatever issues arise in the future.


ลีกอนฮี ซีอีโอบริษัท Samsung


       ภาพลักษณ์ของ Samsung คือ บริษัทเทคโนโลยีที่ปรับตัวได้เร็ว ทำให้สามารถเกาะกระแสการเติบโตของสมาร์ทโฟน ที่มี iPhone เป็นผู้นำได้สำเร็จ ในขณะที่ Nokia Motorola และ BlackBerry ไม่สามารถกระทำได้  กลยุทธ์การปรับตัวของ Samsung ย่อมต้องแลกมาด้วยข้อกล่าวหาที่ว่า Samsung เป็นบริษัทที่ด้อยนวัตกรรม ทำได้แต่เป็นเพียงผู้ลอกเลียนแบบเท่านั้น  อย่างไรก็ตาม เมื่อมองให้ลึกลงไป “การลอกเลียนแบบ (Copy Cat)” ย่อมไม่ใช่สิ่งที่กระทำได้โดยง่าย เพราะต้องรู้ว่าจะลอกเลียนอย่างไรให้แตกต่าง ลอกเลียนอย่างไรให้มีราคาถูกกว่า และที่สำคัญคือ อะไรควรลอก อะไรควรทิ้ง เพราะในโลกเทคโนโลยีนั้น ไม่มีใครรู้ดีกว่าใคร ผู้นำก็อาจผิดพลาดได้เสมอ ผู้ลอกเลียนจึงต้องระวังทุกฝีก้าว  ความสำเร็จของ Samsung จึงไม่ได้อยู่ที่การลงทุนด้านเทคโนโลยีหรือการเลียนแบบผู้อื่น หากทว่า คือ การสร้างองค์กรให้สามารถปรับตัวต่อสภาพความจริงที่ซับซ้อนได้อย่างรวดเร็ว รอบรู้ว่าเทคโนโลยีใดจะเติบโต เทคโนโลยีใดจะร่วงดับ ผู้บริโภคในแต่ละกลุ่มมีความต้องการที่แตกต่างกันอย่างไร แล้วเราควรจะตอบสนองกับกลุ่มใดบ้าง เพื่อให้ได้กำไรสูงสุดทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

 

       “ลีกอนฮี” ผู้นำของบริษัท Samsung จึงใส่ใจเรื่องคนและกระบวนการคิดของบริษัทเป็นอันดับแรก เพราะเชื่อว่า นี่คือ สิ่งที่ทำให้บริษัทสามารถปรับตัวเข้ากับโลกธุรกิจที่ซับซ้อนในศตวรรษที่ 21 ได้ดีที่สุด       

 

       บุคลิกของลีกอนฮี ซึ่งเป็นผู้นำในรุ่นที่ 2 จึงแตกต่างจากลีเบียงซอลซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท โดยแม้ทั้งคู่จะให้ความสำคัญกับคนเป็นอย่างยิ่ง หากทว่าลีกอนฮี จะให้ความสำคัญกับคุณภาพและกระบวนการคิดควบคู่ไปด้วย เพราะความสำคัญของคนอยู่ที่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพให้กับบริษัท


       กลยุทธ์การบริหารคนของลีกอนฮีที่น่าสนใจ คือ การให้พื้นที่ในการตัดสินใจกับผู้บริหาร ซึ่งทำให้บริษัทสามารถตอบสนองกับโลกความจริงที่ซับซ้อนได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงหลังวิกฤตปี 2540 ที่ซัมซุงต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ลีกอนฮีได้ให้นโยบายกับอีฮักซูซึ่งเป็นลูกน้องคนสนิทว่า “ถ้าตัดสินได้ว่าจะขายอะไร ก็อย่าสนใจเจ้าของบริษัท ให้ขายได้เลยเต็มที่” นี่จึงเป็นสาเหตุทำให้ซัมซุงสามารถเอาตัวรอดจากหายนะของวิกฤตได้รวดเร็วกว่าบริษัทอื่น ที่ต้องรอคอยคำสั่งจากเจ้าของบริษัทเท่านั้น     

 

       สำหรับกระบวนการเรียนรู้ของพนักงานในการปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงของโลก ลีกอนฮีจะใช้วิธีการส่งพนักงานระดับหัวกระทิออกไปอยู่ในสาขาต่างประเทศ (Insiders Out) โดยเฉพาะในประเทศที่ตลาดกำลังเติบโตสูง ทั้งเพื่อการเรียนรู้สิ่งใหม่และเพื่อการช่วงชิงผลกำไร ในขณะเดียวกัน ก็จะเปิดรับพนักงานจากต่างประเทศเข้ามาทำงานในประเทศเกาหลี (Outsiders in) เพื่อใช้สายตาคนนอกในการพิจารณาบริษัทอย่างที่เป็นจริง ไม่ติดกรอบความคิดแบบเกาหลีที่เป็นรากเหง้าของบริษัท       

 

       นี่คือ ความแตกต่างระหว่างแนวทางการบริหารของลีกอนฮีและลีเบียงซอล เพราะสำหรับลีเบียงซอลแล้ว พนักงานเป็นเพียงผู้รับคำสั่งเท่านั้น แต่สำหรับลีกอนฮีแล้ว โลกยุคใหม่ซับซ้อนเกินกว่าที่จะใช้การตัดสินใจของผู้นำเพียงลำพัง       

 

       อย่างไรก็ตาม การยกเครื่ององค์กรเพื่อให้ปรับตัวได้เร็วและมีคุณภาพสามารถแข่งขันในระดับโลก ไม่ใช่เรื่องที่กระทำได้โดยง่ายและรวดเร็ว หากทว่าต้องใช้เวลาหลายสิบปีกว่าจะเห็นผล เพราะแม้ว่าจะมี Best Practice จากบริษัทชั้นนำทั่วโลกให้เดินตาม แต่การนำมาปรับใช้ให้เข้ากับวัฒนธรรมเฉพาะของเกาหลี เป็นเรื่องที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนเป็นอย่างยิ่ง ไม่สามารถหยิบยืมมาใช้ได้ทั้งแท่       

 

       ตัวอย่างเช่น แนวคิด Six Sigma ของบริษัท GE ที่แม้จะสอดคล้องกับวัฒนธรรมปรับตัวอย่างต่อเนื่องของ Samsung แต่สิ่งที่ต่างออกไปก็คือ ในบริษัท GE จะมีเพียงบุคลากรฝ่ายบริหารและผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเท่านั้นที่เกี่ยวข้อง หากเมื่อนำมาปรับใช้กับ Samsung พนักงานทุกระดับชั้นจะได้รับโอกาสในการเข้ามามีส่วนร่วม       

 

       สำหรับ การเลื่อนขั้นให้กับบุคลากรที่มีความสามารถสูง (Talent) ซึ่งอาจจะข้ามหน้าข้ามตาผู้อาวุโสที่อยู่มาก่อน ซัมซุงก็จะไม่รีบร้อนนำมาใช้อย่างเต็มที่ในช่วงเริ่มต้น หากทว่าจะทำการปรับลดระยะเวลาขั้นต่ำ (Minimum of Year) ในการขึ้นสู่ตำแหน่งใหม่อย่างค่อยเป็นค่อยไป จนกระทั่งไปสู่จุดที่ทุกฝ่ายยอมรับร่วมกันได้       

 

       การโอบรับทั้งวัฒนธรรมตะวันตกที่กระตุ้นให้ปัจเจกชนแสดงความสามารถอย่างเต็มที่ และการบำรุงรักษาวัฒนธรรมแห่งความร่วมแรงร่วมใจของโลกตะวันออก ทำให้ Samsung เป็นองค์กรที่เต็มเปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ในการต่อกรกับความเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจที่สลับซับซ้อนแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งไม่มีอัจฉริยะคนใดสามารถรับมือได้เพียงลำพัง       

 

       การทำนายอนาคตได้อย่างแม่นยำ เป็นเรื่องที่เหลือวิสัยของมนุษย์ปุถุชน แต่อย่างน้อยวิสัยทัศน์ของซีอีโอบริษัท Samsung ซึ่งเน้นไปที่คนเก่ง กระบวนการคิด และการแสวงหาความจริงอย่างถึงที่สุด ก็ย่อมเป็นกลยุทธ์แบบหนึ่งที่น่าจะนำไปปรับใช้ได้ในโลกธุรกิจแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งซับซ้อนและแปรผันเกินกว่าจะคาดเดา

 

 

 

 

บทความโดย : scbsme

 4112
ผู้เข้าชม
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์