แก่นความสามารถหลักขององค์กร (Core Competency): ค้นหาให้เจอและรักษาไว้ให้นาน

แก่นความสามารถหลักขององค์กร (Core Competency): ค้นหาให้เจอและรักษาไว้ให้นาน

 

แก่นความสามารถหลักขององค์กร (Core Competency): ค้นหาให้เจอและรักษาไว้ให้นาน

 

 

 

       แก่นความสามารถหลัก (Core Competence) ขององค์การ คือ ความสามารถในเชิงธุรกิจที่องค์การนั้นมีอยู่ ซึ่งประกอบด้วยความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญพิเศษ เมื่อเปรียบเทียบกับองค์การอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน (ผลิน ภู่จรูญ, 2550) แก่นความสามารถหลัก ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ ตัวอย่างที่ชัดเจนคือเรื่องคนทำมิโซะในรายการทีวีแชมป์เปี้ยน เป็นร้านมิโซะเก่าแก่ที่สืบทอดกันมาเป็นร้อยปี และลูกหลานที่รับช่วงต่อก็ยังเกิดความรักในการสืบต่อตำนานการทำมิโซะต่อไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีใครทำได้อร่อยเทียบเท่า นี่เป็นตัวอย่างของการเปรียบให้เห็นถึงแก่นของความสามารถหลักในตัวคนแต่ละคน ซึ่งถ้าทำได้ดีและรักที่จะทำสิ่งนั้นจะมีความได้เปรียบทางการแข่งขัน แต่ก็ต้องมีการจัดการที่ดี

       การจัดการที่ดี (Organization Management) นอกจากจะต้องจัดการในสิ่งที่มองเห็น (Visible) อันได้แก่ คน (Man) เงิน (Money) วิธีการ (Method) และวัตถุดิบ (Material) แล้ว ยังต้องสามารถบริหารสิ่งที่เรียกว่า “ทรัพยากรที่ไม่มีตัวตน” (Invisible) หรือสิ่งที่มองไม่เห็น ซึ่งเป็นความสามารถที่อยู่ข้างใน ต้องหาให้เจอ ดังนั้นจะดีแค่ไหนถ้ามีคนรักในอาชีพแล้วทำต่อชั่วลูกชั่วหลาน ต้องหาของจริงให้เจอ ตัวอย่างของแก่นความสามารถหลักที่เป็นของจริง คือที่คนพูดออกมาตรงกัน โดยไม่ได้นัดหมาย คิดตรงกันทุกคน เช่น ขาหมู – ตรอกซุง CP – ไก่ นาฬิกา – สวิส กางเกงยีนส์ – Levi’s สายการบินต้นทุนต่ำ – Southwest Airlines ปากกาหมึกซึม – Montblanc ซอสถั่วเหลือง – kikoman เฟืองล้อจักรยาน – Shimano มีดพกสวิส – Victorynox เป็นต้น 

       การพัฒนาแก่นความสามารถหลัก หรือของจริงนั้น ต้องดูให้ออก Core competency = ของจริง = Nobody can copy ถ้าทำออกมาแล้วจะเป็นที่หนึ่งได้ต้องไม่มีใครลอกได้ Competence = ทำออกมาได้ดีเป็นที่ยอมรับ แต่อาจมีคนพัฒนาได้ดีกว่า หรือลอกเลียนได้ในอนาคต และการที่จะเกิดแกนความสามารถหลักได้นั้น จะต้องสร้างจากตัวเม่น คือ passion / be the best in the world หรือ born to be คือ เกิดมาเพื่อสิ่งนี้ ซึ่งเมื่อค้นหาเจอแล้วต้องรักมัน ไม่ใช่คิดว่าไม่มีศักดิ์ศรี ต้องรักษาสิ่งดีๆไว้ชั่วลูกชั่วหลาน คนไทยทุกวันนี้คิดว่าสิ่งที่พ่อแม่ทำไว้ เป็นเรื่องไม่น่าทำต่อ เช่นขายก๋วยเตี๋ยว ขายกะปิ ถ้ารักและทำได้ดี ก็ควรรักษาไว้

       ตัวอย่างคือ การผลิตเฟืองล้อจักรยาน Shimano เป็นสิ่งที่ทำและพัฒนาจนสามารถแข่งขันได้ในระดับโลก อย่างแข่งขัน Tour de France นักกีฬาชั้นนำล้วนเลือกใช้ ซึ่งเป็นการตั้งใจทำของคนญี่ปุ่นคนหนึ่ง แต่สามารถไปตั้งโรงงานในออสเตรเลียและยุโรปได้ เป็นการพัฒนาความรู้ถึงขีดสูง นอกจากจักรยานตอนนี้เค้าได้พัฒนาไปในส่วนที่เป็นรอกตกปลา และได้กลายเป็นบริษัทระดับโลก 

       อีกตัวอย่าง บริษัท Kikkoman ผลิตจำหน่ายน้ำซอสปรุงรสที่ผลิตจากเมล็ดถั่วเหลือง  จุดเริ่มต้นคือจากภูมิปัญญาชาวบ้านในการหมักถั่วเหลืองโดยการเติมสารจุลินทรีย์เข้าไป ทำให้เกิดการย่อยสลายถั่วเหลืองส่งผลทำให้เกิดน้ำซ้อสที่มีรสชาตกลมกล่อม กลิ่นหอมตามธรรมชาติ ซึ่งความรู้ที่ถูกสะสมได้กลายเป็นทรัพย์สินทางปัญญาในการผลิตน้ำซอส Kikkoman นำไปขายทั่วโลก ราคาสูงกว่ายี่ห้ออื่น สรุปก็คือ ความรู้ในการหมักถั่วเหลืองที่ได้รับการถ่ายทอดสะสมกันหลายชั่วอายุคน ได้ถูกนำมาพัฒนาเพื่อสร้างให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันของบริษัท Kikkoman ที่ยากต่อการลอกเลียนแบบ 

       การพัฒนาแก่นความสามารถหลักจึงเป็นสิ่งที่ท้าทายนักธุรกิจปัจจุบัน และนักธุรกิจในอนาคตที่ต้องการนำพาองค์การของตัวเองข้ามศตวรรษด้วยทรัพยากรที่จับต้องไม่ได้ดังกล่าว นักบริหารที่มีศักยภาพเท่านั้นที่จะทำได้สำเร็จ ซึ่งนอกเหนือจะต้องมีความรู้ที่เป็นศาสตร์ทางการจัดการแล้ว ศิลปะในการนำเอาทรัพยากรที่จับต้องไม่ได้มาประกอบใช้รวมกับทรัพยากรที่จับต้องได้เป็นสิ่งที่มีความสำคัญเช่นกัน (ผลิน ภู่จรูญ, 2550)

 



ที่มา : 
นคร สังขรัตน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โปรซอฟท์ คอมเทค จำกัด

 15818
ผู้เข้าชม
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์