แนวโน้มการจัดทำมาตรฐานการบัญชีสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ของ ไทย มีความเป็นไปได้สูงมาก เนื่องจากได้รับความสนใจทั้งในประเทศไทยและระดับอาเซียน โดยมีการผลักดันให้มีการศึกษา เพื่อจัดทำข้อเสนอมาตรฐานดังกล่าวขึ้น ซึ่งคณะกรรมการสมาพันธ์นักบัญชีประจำอาเซียน (ASEAN Federation of Accountants – AFA) ได้มอบหมายสภาวิชาชีพบัญชีฯ เป็นหัวหน้าในการดำเนินการดังกล่าว ซึ่งคาดว่าคงต้องใช้เวลาพอสมควรในการดำเนินการจนมีร่างมาตรฐานการบัญชีสำหรับธุรกิจ SMEs ในส่วนของมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศได้ออกมาตรฐานดังกล่าวเมื่อเดือนกร กฏาคม 2552 โดย มีจุดมุ่งหมายในการวางมาตรฐานสำหรับกิจการในประเทศที่ยังไม่มีมาตรฐานการ บัญชีของตนเอง และเป็นอีกทางเลือกสำหรับกิจการในประเทศที่มีมาตรฐานการบัญชีของตนเอง มาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศสำหรับกิจการขนาดย่อมจะถูกนำมาใช้กับกิจการที่ต้องเผย แพร่งบการเงินเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไปให้ผู้ใช้งบการเงินภายนอกและไม่ได้มี ความรับผิดชอบต่อสาธารณะ อันได้แก่ บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ธนาคาร บริษัทประกัน บริษัทนายหน้าค้าหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญ มาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศสำหรับกิจการขนาดกลางและขนาดย่อมมีความแตกต่างจาก มาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศในเรื่องของการเปิดเผยข้อมูลที่ลดลง และการรับรู้และการวัดมูลค่าที่มีความยุ่งยากน้อยลง ซึ่งประเด็นความแตกต่างหลักระหว่างมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศกับมาตรฐาน การบัญชีระหว่างประเทศสำหรับกิจการขนาดกลางและขนาดย่อมได้แก่ การรวมธุรกิจ เงินลงทุนในบริษัทร่วมและกิจการร่วมค้า การรับรู้ค่าใช้จ่าย เครื่องมือทางการเงิน ผลประโยชน์ของพนักงาน ภาษีเงินได้ เป็นต้น ทิศทางมาตรฐานการบัญชีสำหรับกิจการขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยจะเป็นเช่นใดและจะ แตกต่างกับมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศสำหรับกิจการขนาดกลางและขนาด ย่อมอย่างไร คงต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิดเพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทาง บัญชีของไทยกันนะคะ
บทความโดย : www.axissolution.co.thประกาศบทความโดย : http://www.prosmes.com
สนใจสินค้าและบริการ
ร้องเรียนการให้บริการ
02-402-6117, 081-359-6920
sale@prosoft.co.th
02-096-4900 กด 2 (AUTO)
02-402-8107
support@prosoftwinspeed.com
02-096-4900 กด 3 (AUTO)
02-402-8138
support@prosofthrmi.com