ฟื้นฟูธุรกิจไปกับกลยุทธ์ Rebranding

ฟื้นฟูธุรกิจไปกับกลยุทธ์ Rebranding

 

 ฟื้นฟูธุรกิจไปกับกลยุทธ์ Rebranding

 

 

       เป็นที่เห็นพ้องต้องกันในวงกว้างว่าวัฏจักรของธุรกิจมีความคล้ายคลึงกับวงจรชีวิตของมนุษย์จนแทบจะแยกไม่ออก เพราะต่างมีจุดถือกำเนิดจากศูนย์แล้วพัฒนาไปสู่จุดสูงสุดจากนั้นจึงเริ่มก้าวลงมาสู่จุดที่ต่ำสุดจนแตกดับเหมือนๆกันในที่สุด ซึ่งวัฏจักรที่เกิดขึ้นมานั้นเป็นสัจจะที่ยอมรับได้ในชีวิตจริงแต่เป็นเรื่องที่ยากจะยอมรับได้ในทางธุรกิจสำหรับเรื่องของการถึงจุดถดถอยที่มาเยือน ซึ่งความถดถอยทางธุรกิจนั้นเป็นสิ่งที่สามารถแก้ไขได้ด้วยกลยุทธ์ทางธุรกิจ และหนึ่งในกลยุทธ์ฟื้นฟูธุรกิจที่ได้รับความนิยมในหมู่ผู้ประกอบการมากที่สุดคงเห็นจะหนีไม่พ้น Rebranding ซึ่งโอกาสนี้ INCquity จะพาไปเรียนรู้วิธีการใช้งานเจ้ากลยุทธ์มหัศจรรย์ตัวนี้กัน โดยขอสรุปขั้นตอนแบบรวบย่อดังต่อไปนี้

ค้นหาข้อผิดพลาดให้เจอ


       ธุรกิจที่ทำการ Rebranding ตัวเองส่วนใหญ่นั้นมักจะเป็นกิจการที่อยู่ในช่วงขาลงแทบทั้งสิ้น ซึ่งสาเหตุที่เป็นเช่นนั้นมักมีที่มาอันเกิดจากความล้มเหลวทางด้านการวางแผนธุรกิจอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นผู้ประกอบการจะต้องค้นหาจุดบอดของธุรกิจตนเองให้เจอว่ามันมีที่มาจากอะไร ไม่ว่าจะเป็นแผนธุรกิจ การตลาด สื่อสารแบรนด์ การโฆษณา ภาพลักษณ์ คุณสมบัติสินค้า ฯลฯ เป็นต้น และเมื่อทราบข้อผิดพลาดแล้วก็นำข้อมูลดังกล่าวมาใช้เป็นโรดแมพสร้างโมเดลธุรกิจให้ดีขึ้นกว่าของเดิม

ยกเครื่องทุกอย่างใหม่หมด

       เมื่อผู้ประกอบการได้รับทราบข้อผิดพลาดแล้ว คุณจะต้องแก้ไขและกำจัดจุดอ่อนที่ค้นพบโดยทันทีจัดไปอย่าให้เสียเที่ยว โดยขอแนะนำให้ยกเครื่องใหม่ทั้งหมดเพื่อเป็นการบรรลุหลักการของกลยุทธ์ Rebranding อย่างแท้จริง ไล่ตั้งแต่แผนธุรกิจ การตลาด การจัดกลุ่มเป้าหมายผู้บริโภค ระดับและตำแหน่งของสินค้า ภาพลักษณ์รวมไปถึงชื่อสินค้า ฯลฯ ที่สำคัญที่สุดก็คือการยกเครื่องใหม่ทางด้านความคิดของผู้ประกอบการและเหล่าบรรดานักบริหารหัวกะทิ เพราะ Rebranding จะไม่มีทางประสบความสำเร็จเลยตราบใดที่เจ้าของธุรกิจยังคงยึดติดกับแนวคิดแบบเดิมๆที่กลายเป็นไข่ไดโนเสาร์ไปแล้วในปัจจุบัน

เชื่อมโยงอดีตเข้ากับปัจจุบันอย่างมีศิลปะ

       เคล็ดลับที่สำคัญที่สุดของ Rebranding ก็คือผู้ประกอบการจะต้องจับเอาเอกลักษณ์ของธุรกิจในอดีตมาเชื่อมโยงกับธุรกิจที่เป็นเลือดใหม่ได้อย่างมีศิลปะและดูเป็นธรรมชาติมากที่สุด เพราะถึงแม้กลยุทธ์ตัวนี้จะเป็นการจับเอาข้อผิดพลาดในอดีตมาปรับปรุงและนำมาเล่า ใหม่ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าบางสิ่งบางอย่างที่มีอยู่เดิมจะใช้ไม่ได้เลยในวันนี้ อีกทั้งการสร้างแบรนด์ขึ้นมาใหม่ทั้งหมดเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงและต้องใช้งบลงทุนที่สูงมาก ดังนั้นผู้ประกอบการจะต้องหยิบเอาเหล้าเก่ามาใส่ในขวดใหม่ให้ดูน่ารับประทานยิ่งขึ้น โดยหยิบยกเอาสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ในอดีตมาปรับปรุงและถ่ายทอดออกมาอย่างโมเดิร์นที่สุด เหมือนดังตัวอย่างที่ธนาคารไทยพาณิชย์และสบู่ตรานกแก้วพิสูจน์ให้เห็นในเชิงประจักษ์มาแล้ว

ต้องมีความทันสมัยเป็นตัวนำ


       สาเหตุหลักที่ทำให้ธุรกิจต้อง Rebranding ตัวเองในวันนี้นั้นเกิดจากการขาดความสามารถในการตามให้ทันยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงจากการเดินของเข็มนาฬิกา ผู้ประกอบการจึงต้องรีบจับเอากระแสความทันสมัยทั้งในเรื่องของกลยุทธ์และภาพลักษณ์ที่สดใสพร้อมดูดีมาใส่ลงไปในตัวของธุรกิจให้มากที่สุด เหมือนดังเช่นที่ยาสีฟันตราดอกบัวคู่และอุทัยทิพย์พยายามทำมาตลอดจนประสบความสำเร็จอย่างที่เห็นกันในทุกวันนี้นั่นเอง

เปิดประตูสู่ Mass Media

       เมื่อผู้ประกอบการทำการ Rebranding ธุรกิจเสร็จเรียบร้อยแล้วสิ่งที่คุณจะต้องดำเนินการในขั้นต่อไปก็คือการพาธุรกิจหรือสินค้าออกสู่ Mass Media ทั้งที่เป็นแบบสื่อออนไลน์และสื่อออฟไลน์ ซึ่งมันจะช่วยให้เหล่าบรรดาลูกค้าที่อยู่ในฐานะผู้บริโภคทราบโดยทันทีว่าธุรกิจของคุณได้ทำการพัฒนาและเปิดตัวใหม่ต่อสาธารณชนอีกครั้งแล้ว ซึ่งวิธีการนี้นอกจากจะเป็นการแจ้งข่าวสารให้ทราบแล้วยังมีประโยชน์ต่อการช่วยส่งเสริมการทำตลาดอีกด้วย โดยวิธีการที่นิยมทำมากที่สุดคงเห็นจะหนีไม่พ้นการระดมยิงโฆษณาและปล่อยกิจกรรมทางการตลาดแบบเข้าถึงผู้บริโภค แถมในปัจจุบันยังสามารถทำตลาดผ่าน Social Network ที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากได้อีกด้วย อันเป็นหนึ่งในวิธีการที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งเพราะมันจะใช้เทคโนโลยีที่มีภาพลักษณ์ความทันสมัยฝังแน่นอยู่แล้วภายในตัว เป็นกำลังในการผลักดันพร้อมกระตุ้นให้ทั้งสองสิ่งเกื้อหนุนและส่งเสริมกันได้เป็นอย่างดี

เช็คผลตอบรับที่ได้มา

       การเช็ค Feedback คือกระบวนการอย่างสุดท้ายของการ Rebranding ธุรกิจ ซึ่งผลตอบรับที่ได้มาจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าการดำเนินกลยุทธ์ที่ผ่านมานั้นประสบความสำเร็จมากขนาดไหน และยังสามารถนำมาใช้เป็นแผนแม่บทต่อยอดทางกลยุทธ์ได้อีกด้วย ดังนั้นกลยุทธ์ตัวนี้จึงไม่ได้จบแค่การได้ของใหม่แทนที่ของเก่าเท่านั้น แต่มันคือการเริ่มต้นเดินทางอันยาวนานบนเส้นทางที่แสนไกลอีกด้วย

       กลยุทธ์ Rebranding ไม่มีสูตรสำเร็จในตนเองที่แน่ชัดเหมือนบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ดังนั้นการปรับตัวและเบนเข็มธุรกิจให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลาจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างหาที่สุดมิได้ ผู้ประกอบการจึงต้องเป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้นพร้อมเปิดใจยอมรับและเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา กลยุทธ์นี้จึงจะประสบความสำเร็จตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้นั่นเอง



 
บทความโดย : INCquity

 1963
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

กลยุทธ์การขายของตามฤดูกาล (Seasonal Marketing Strategy) หมายถึง การตลาดตามฤดูกาลจริงๆ (ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว ฤดูใบไม้ร่วง ฤดูใบไม้ผลิ) และการตลาดตามเทศกาลต่างๆ ด้วยการกระตุ้นยอดขายสินค้าจากเทศกาลมาทำการตลาดเชิงรุก
เทคนิคการตลาดที่น่าสนใจเรียกว่า “คิดแบบย้อนศร” คือการลองพลิกมุมมองความคิดไปอีกด้านหนึ่ง จากซ้ายไปขวา จากผู้ผลิตไปเป็นผู้บริโภค ไม่แน่ว่าอาจทำให้หาคำตอบในสิ่งที่ต้องการได้ง่ายขึ้น และมองเห็นถึงสิ่งที่ซ่อนอยู่
การตลาด (Marketing) คือศาสตร์แห่งการทำให้ธุรกิจนั้นก้าวไปข้างหน้าจนลูกค้ามาซื้อ การตลาดแบบง่ายๆ ที่คุณเห็นตั้งแต่นอนอยู่บนเตียงก็คือ "การโฆษณา" (Advertising) ไม่เชื่อก็ลองสไลด์มือถือเฟซบุ้คของคุณดูก็ได้ โฆษณาก็จะโผล่ขึ้นมาบนหน้าจอแบบอัตโนมัติ สิ่งที่การตลาดทำให้เกิดผลลัพธ์สูงสุดของธุรกิจก็คือการตัดสินใจซื้อก็จะต้องเริ่มจากงานโฆษณาเพื่อสร้างการรับรู้ (Awareness) ที่ตรงกลุ่มเป้าหมาย
การยกเลิกสินค้าเป็นปัญหาหลักๆสำหรับทุกธุรกิจออนไลน์ ซึ่งเหตุผลที่อาจเป็นไปได้คือ ค่าส่ง,ยอดรวมของสินค้าแพงเกินไป,ความยุ่งยากในการคืนสินค้า/ไม่มีนโยบายการคืนสินค้า,ไม่มีตัวเลือกการชำระเงิน,ปัญหาด้านความปลอดภัย ดังนั้นคุณจะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างไร?
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์